--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
e-Marketing is a generic term utilized for a wide range of activities – advertising, customer communications, branding, fidelity programs etc. – using the internet. More than the simple development of a website, the e-Marketing focuses on online communications, direct dialog with consumers who thus participate to the creation of new products, finding efficient methods to win customer's fidelity and ease their business-making process. e-Marketing is the sum of activities a company makes with the purpose of finding, attracting, winning and retaining customers.
Specialists of CISCO company
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
e-Marketing is a generic term utilized for a wide range of activities – advertising, customer communications, branding, fidelity programs etc. – using the internet. More than the simple development of a website, the e-Marketing focuses on online communications, direct dialog with consumers who thus participate to the creation of new products, finding efficient methods to win customer's fidelity and ease their business-making process. e-Marketing is the sum of activities a company makes with the purpose of finding, attracting, winning and retaining customers.
Specialists of CISCO company
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หากใครที่เคยได้เรียนรู้หลักการ Marketing ในโลกออฟไลน์มาแล้ว การเรียนรู้เรื่ื่อง e-Marketing ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเพียงแค่ เติม e- เข้าไป เพื่อให้เป็นการตลาดที่เหมาะสำหรับโลกยุคไซเบอร์ นักการตลาดที่ดีจะต้องทำให้การตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ประสบความสำเร็จ
จุดประสงค์หลัก ของการทำ e-Marketing โดยความสำคัญที่มาเป็นอันดับแรกเลย คือ การสร้างให้เกิดการขาย (Create Sale) เพราะโดยหลักการทำการตลาดในโลกออฟไลน์ ก็ยึดวัตถุประสงค์นี้เป็นสำคัญอยู่แล้ว
อันดับต่อมา เราำทำการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ด้านแบรนด์ (Brand Awareness) บางธุรกิจอาจจะไม่หวังผลด้านยอดขายมากนัก แต่ใช้การตลาดเพื่อการสร้างการรับรู้ การจดจำ เพื่อให้คนติดตา ตรึงใจ รับรู้ตราสินค้า ที่อาจจะทำให้เกิดผลระยะยาว เกิดเป็นการจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Royalty)
จุดประสงค์สุดท้าย คือ การสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค (Brand Engagement) จะเห็นได้ว่า ในยุคนี้การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์นั้น ไม่ง่ายอีกแล้ว เพราะผู้บริโภคมีการรับรู้และเลือกชมสื่อที่หลากหลายมากขึ้น และกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายของสินค้า อาจจะมีพฤติกรรมในการเลือกรับสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป
นักการตลาดจะต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในเชิงลึก ศึกษาพฤติกรรมการรับสื่อ เพื่อใช้ในการวางแผนการสื่อสารการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากพฤติกรรมการรับสื่อแล้ว สินค้าบางประเภทที่นำมาทำการตลาดนั้น อาจจะมีคู่แข่งเยอะหรือมีสินค้าที่เป็นเจ้าตลาดที่อยู่ในใจผู้บริโภคอยู่แล้ว ทำให้ยากที่จะเข้าไปอยู่ในการรับรู้และจดจำ นักการตลาดจะต้องหาวิธีการในการสร้างความประทับใจ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคให้มากขึ้น จึงเกิดเ็ป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค (Brand Engagement) ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่เห็นได้ชัด คือ ร้านกาแฟ Starbucks ที่ได้สร้างประสบการณ์ "การเป็นร้านกาแฟ ที่ไม่ใช่แค่ร้านขายกาแฟ"
ดังนั้น การสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค (Brand Engagement) จึงเป็นสิ่งที่นักการตลาดพยายามที่จะสร้างให้เกิดขึ้นมา หากนักการตลาดคนใด สามารถทำให้เกิด Brand Engagement ได้แล้ว จะไม่ยากเลยที่จะสร้างให้เกิดการขายตามมา และจะเป็นการสร้างให้เกิดการขายแบบยั่งยืน ( Sale) อีกด้วย