Eurax

หลักการทำการตลาดออนไลน์ ง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง เรียนรู้หลักการทำ eMarketing แบบบ้านๆ งบประมาณไม่บานปลาย ศึกษาเรื่องวิธีการทำการตลาดที่ได้ผล และต้นทุนต่ำ

"ทวิตเตอร์--สื่อพีอาร์หรือขยะออนไลน์"

ยิ่งกว่าเรื่องของน้ำขึ้นให้รีบตักเสียอีก แต่เป็นเรื่องของหมาป่าฝูงใหญ่ที่รุมกระโจนเข้างับเหยื่อตัวใหญ่แทบไม่มีผิด

เหยื่อตัวใหญ่ที่ว่านี้ก็คือเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ซึ่งอีกไม่ช้าคงไม่ใช่แค่เครือข่ายสังคมธรรมดาๆ อีกต่อไป แต่จะแปรเปลี่ยนเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์เครื่องมือใหม่ของบรรดาบริษัท ใหญ่น้อยที่ไม่ยอมตกเทรนด์ใหม่ของโลกเป็นแน่

ขณะนี้บริษัทใหญ่น้อยในแดนดินถิ่นอินทรีผยองรวมไปถึงเป็บซี่ ฟอร์ดและเซาท์เวสต์ แอร์ไลนส์ ได้จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ช่วยกันโพสต์ข้อความประชาสัมพันธ์ของ บริษัทลงในเครือข่ายออนไลน์และบล็อก อีกทั้งยังได้มอบหมายให้พนักงานส่วนหนึ่งช่วยทำหน้าที่นี้ เช่นเดียวกับให้ผู้บริหารอาวุโสของบริษัทช่วยกันโพสต์แผนงานและการประชา สัมพันธ์บริษัทลงในบล็อกของตัวเองด้วยเช่นกัน

การที่บริษัทมะกันมีแนวโน้มจะใช้ทวิตเตอร์เป็น สื่อใหม่ในการประชาสัมพันธ์ที่ทรงพลังอันยิ่งใหญ่มากขึ้นมาจากความบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้วแท้ๆ เมื่อ นายสก็อตต์ มอนตี้ หัวหน้าฝ่ายสื่อสัมพันธ์ของบริษัทรถยนต์ฟอร์ดได้เปิดทวิตเตอร์ส่วน ตัวแล้วพบข้อความเตือนให้ดูอีเมลกว่าพันฉบับที่วิพากษ์วิจารณ์ฟอร์ดไม่มี ชิ้นดีกรณีมีข่าวว่าจะปิดเว็บไซต์สุดฮิต "TherangerStation.com"

มอนตี้ซึ่งแม้จะย้ายจากบริษัทที่ปรึกษาด้านสื่อสัมพันธ์มาอยู่กับฟอร์ด ได้แค่ครึ่งปีก็ไม่รอช้ารีบโพสต์ข้อความต่างๆ ลงในบล็อกส่วนตัว พร้อมๆ กับที่
ฟอร์ดได้มอบงานให้เขาช่วยดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ภายในไม่กี่ชั่วโมง มอนตี้ก็รายงานว่าต้นเหตุของปัญหามาจากทนายของฟอร์ดพบว่ามีโฆษณาขายสินค้า ผิดกฎหมายที่ใช้โลโก้ของฟอร์ดอยู่จึงขู่จะปิดเว็บไซต์นี้ มอนตี้ได้เกลี้ยกล่อมให้ทนายเปลี่ยนใจเนื่องจากจะมีผลต่อยอดขาย

ภายในวันเดียวเท่านั้น ทวิตเตอร์ของ มอนตี้ก็สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ถึงขนาดที่บริษัทที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ โอซี นิว มีเดีย ได้โพสต์เรื่องที่เกิดขึ้นบนเว็บว่าเป็นกรณีศึกษาพิเศษ เพื่อชี้ให้ลูกค้าเห็นว่าบริษัทต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้

"เครือข่ายออนไลน์สามารถส่งพลังมหาศาลในยามหน้าสิ่วหน้าขวานที่จำเป็น ต้องมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็วทันใจ" เชล โฮลทซ์ ผู้ประพันธ์ร่วมหนังสือ "บล็อกกิ้ง ฟอร์ บิสซิเนสส์" ให้ความเห็น

อย่างไรก็ดี ขาประจำเครือข่ายออนไลน์หลายคนกลับมองต่างมุมด้วยความวิตกว่าอีกไม่ช้าเครือ ข่ายออนไลน์จนกลายเป็น "ขยะการประชาสัมพันธ์ออนไลน์" แบบใหม่ไปแล้ว

บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์


ที่มา http://www.komchadluek.net/

กูเกิลตั้งตัวแทน'Adwords'ในไทย ยันไม่เหยียบ (ตาปลา) เอเจนซี่รายย่อย

กูเกิลประกาศตั้งเรดดี้แพลนเน็ต (ReadyPlanet) ให้บริการ Adwords อย่างเป็นทางการรายแรกในประเทศไทย ยืนยันว่าไม่ได้หวังแก้ปัญหาเอเจนซี่ผีที่ขาย Adwords แบบไร้คุณภาพ แต่ทำไปเพราะต้องการมุ่งมั่นทำงานร่วมกับบริษัทท้องถิ่นรายเดียวก่อนเพื่อ จับตลาด SME ให้เต็มที่ ระบุไม่ทิ้งเอเจนซี่ที่ให้บริการปรึกษาด้านการโฆษณาบนกูเกิลรายย่อยเพราะไม่ ปิดกั้นและให้การสนับสนุนเหมือนเดิม ด้านเรดดี้แพลนเน็ตมั่นใจ ไม่ว่าจะถูกชูธงเป็นตัวแทนขายหรือไม่ เชื่อว่ารายได้จากธุรกิจ Adwords จะเติบโต 3-5 เท่าตัวในปีหน้า

ชารีฟ เอล-อันซารี หัวหน้าฝ่ายขายออนไลน์และตัวแทนจำหน่ายกูเกิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สัมภาษณ์ระหว่างการแต่งตั้งเรดดี้แพลนเน็ตเป็นรีเซลเลอร์หรือผู้ให้ บริการระบบโฆษณาออนไลน์ Adwords ของกูเกิล ว่าเลือกเรดดี้แพลนเน็ตเพราะองค์กรมีความมั่นคง มีทีมงานเชี่ยวชาญ และมีคอลเซ็นเตอร์บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง

" ตัวแทนในสิงคโปร์มีแล้ว แต่ให้บริการเฉพาะในเวลางาน ไม่ตลอด 24 ชั่วโมงเหมือนเรดดี้แพลนเน็ต ความหมายของรีเซลเลอร์คือ รับผิดชอบด้านการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ ทำกิจกรรม ฝึกอบรม เพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผล ทำงานบริการลูกค้าทั้งหมด"

Adwords คือการลงโฆษณาบนเสิร์ชเอนจิ้นของกูเกิลด้วยการซื้อคีย์เวิร์ด เพื่อให้ผู้ใช้กูเกิลพบลิงก์เว็บไซต์เมื่อเสิร์ชด้วยคีย์เวิร์ดที่เกี่ยว ข้อง ธุรกิจ SME นิยมโฆษณาด้วย Adwords มากมายเพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าในช่วงเวลาที่ลูกค้าต้องการ ต้นทุนต่ำเพราะกูเกิลจะเก็บค่าบริการเท่าที่มีการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์เท่า นั้น

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เรดดี้แพลนเน็ตเป็นตัวแทนให้บริการ Adwords ที่กูเกิลให้การรับรองเป็นรายแรกในอาเซียนที่มีการซัปพอร์ตครบวงจรตลอด 24 ชั่วโมง หลักการให้บริการคือ ผู้ประกอบการ SME สามารถโทรศัพท์หรือติดต่อกับเรดดี้แพลนเน็ต เพื่อบอกงบประมาณและเป้าหมาย ซึ่งเรดดี้แพลนเน็ตจะวิเคราะห์ การคัดเลือกคีย์เวิร์ดที่ควรซื้อ ดำเนินกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์ และประเมินผล

กู เกิลระบุว่า ลูกค้าที่ใช้ Adwords ในขณะนี้สามารถใช้บริการได้ต่อไปโดยไม่ต้องเปลี่ยนมาใช้บริการจากเรดดี้แพลน เน็ต แต่หากลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลือจากทีมที่เชี่ยวชาญ ก็สามารถมั่นใจในตัวเรดดี้แพลนเน็ตได้ โดยเรดดี้แพลนเน็ตไม่มีการจ่ายรายได้ใดๆให้กูเกิล แต่จะได้รับการอบรม ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมร่วมกัน และได้ค่าคอมมิชชั่นตามยอดจำหน่ายจากกูเกิล

เรดดี้แพลนเน็ตเป็นบริการของบริษัท แกรนด์ แพลนเน็ต เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปรายแรกของไทยมา 9 ปี ลูกค้ากลุ่มหลักคือเอสเอ็มอี การเป็นตัวแทนจำหน่ายของกูเกิลจะอยู่ในส่วนธุรกิจให้บริการประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์หรือ ReadyPlanet Web Promotion

ไม่เหยียบเอเจนซี่

สำหรับเอเจนซี่หรือบริษัทที่ให้บริการปรึกษาด้านการทำการตลาดบนอิน เทอร์เน็ตด้วย Adwords ในประเทศไทยที่มีอยู่หลายราย กูเกิลระบุว่าจะไม่มีการปิดกั้น และกูเกิลจะให้การสนับสนุนแก่เอเจนซี่รายย่อยตามปกติที่เคยมีมา โดยผู้บริโภคที่พอใจกับการใช้บริการจากเอเจนซี่ก็สามารถใช้บริการได้ต่อไป และเรดดี้แพลนเน็ตจะไม่ใช่ตัวแทนรายเดียวในประเทศไทยแน่นอน

"แทนที่จะต้องคุยกับบริษัทที่ให้บริการ Adwords เป็นร้อยเป็นพัน เรามองว่าต้องมีหนึ่งบริษัทที่จะมาทำงานกับเราอย่างจริงจังก่อน ต้องมีบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่ได้รับการรับรองจากกูเกิล เรามีการคุยกับหลายบริษัท แต่ที่เข้าตากูเกิลมากที่สุดคือเรดดี้แพลนเน็ต ขณะนี้ยังไม่มีแผนให้บริษัทไหนอีก แต่ในระยะยาวมีแน่เพราะความต้องการของ SME ไทยมีมาก และเหตุที่ประเทศไทยต้องมีตัวแทนจำหน่าย เพราะความต้องการที่เติบโตอยู่ตลอดเวลา การจะเข้าถึงความต้องการได้ก็คือคนที่ให้บริการได้ครอบคลุม"

แปล ว่ากูเกิลเชื่อว่าการตั้งตัวแทนจะไม่ทำให้เอเจนซี่รายย่อยเดือดร้อน และการตั้งเรดดี้แพลนเน็ตเป็นตัวแทนให้บริการไม่ได้หมายความว่ากูเกิลต้อง การดึงลูกค้าจากเอเจนซี่มาเป็นลูกค้าเรดดี้แพลนเน็ต จุดนี้ทรงยศ คันธมานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร แกรนด์แพลนเน็ต เชื่อว่าการประกาศครั้งนี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานการให้บริการ Adwords ในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น

"ผมมองว่าการเป็นตัวแทนจะช่วยยกระดับการให้บริการ Adwords ในประเทศไทยมากกว่า คิดว่าจะมีประโยชน์โดยรวมทั้งหมด" ทรงยศเชื่อว่ารายได้ของบริษัทจาก Adwords จะเพิ่มขึ้นราว 3-5 เท่าตัวในปีหน้า บนรายได้รวมของบริษัทในปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านบาท

บุรินทร์ เกล็ดมณี ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการแกรนด์แพลนเน็ต ให้ความเห็นว่า จากการประมาณพบว่ากว่า 50% ของบริษัทที่ให้บริการปรึกษาด้าน Adwords ในประเทศไทยนั้นยังดำเนินการไม่ถูกต้อง ขาดคำแนะนำในการซื้อคีย์เวิร์ดและการบริหารแคมเปญที่ตรงความต้องการและคุ้ม ค่า ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนได้ อย่างไรก็ตาม กูเกิลระบุว่ายังไม่มีการสำรวจตลาดบริการ Adwords ไม่ได้มาตรฐานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ค่าบริการ Adwords ของเรดดี้แพลนเน็ตจะประกอบด้วยค่าคีย์เวิร์ดซึ่งคิดตามจำนวนคลิก โดนเรดดี้แพลนเน็ตคิดค่าบริการเริ่มต้นเดือนละ 2,000-3,000 บาท ลูกค้าจะได้รับแจ้งว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนราคาเท่าใด ในส่วนของเรดดี้แพลนเน็ต จำนวนลูกค้าแอคทีฟขณะนี้อยู่ที่ 8,000 ราย

" ถ้าไม่มีประกาศแต่งตั้ง เราคิดว่าการใช้ Adwords บนเรดดี้แพลนเน็ตก็เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว เพราะประโยชน์มาก อัตราเติบโตบริษัทเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 30-40% การแต่งตั้งนี้อาจจะทำให้เพิ่มขึ้นอีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์"

ความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ของการรุกธุรกิจ Adwords ใน SME คือการประกาศให้ผู้ใช้ Adwords จ่ายค่าคีย์เวิร์ดผ่านธนาคารกรุงเทพเมื่อต้นเดือนสิงหาคม ผ่านตู้โทรศัพท์ เอทีเอ็ม และสาขาธนาคาร

กูเกิลให้ข้อมูลว่า สถิติคนไทยเล่นอินเทอร์เน็ตขณะนี้อยู่ที่ 13.4 ล้านคน คิดเป็นอัตราใช้งานต่อประชากร 20.5% เติบโตจากปีที่แล้ว 18% ราว 30% ทำการค้นหาข้อมูลจากเสิร์ชเอนจิ้น ที่สำคัญ จำนวนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์นั้นเพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 28.9% ในปีที่แล้ว มาเป็น 45.9% ในปีนี้



ที่มา โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2552 17:17 น.

Google AdWords เจาะเอสเอ็มอีไทย เพิ่มยอดขาย-ต้นทุนต่ำ

กูเกิลส่ง Google AdWords เจาะลูกค้าเอสเอ็มอี หลังพบมีลูกค้าเป็นผู้ประกอบการ 858,291 ราย หรือราว 85% ของธุรกิจทั้งหมด เผยคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูล และซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ชูจุดขายช่วยเพิ่มยอดขาย ต้นทุนต่ำ พร้อมปรับปรุงให้มีการใช้งานภาษาไทยง่ายดายทุกขั้นตอน

มร.ชารีฟ เอล อันซารี หัวหน้างานออนไลน์และตัวแทนขาย กูเกิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า กูเกิล ได้ส่งโปรแกรม Google AdWords ซึ่งเป็นโปรแกรมการบริหารจัดการโฆษณาออนไลน์ผ่าน Google Search Mass Media และ Niche Media สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ SME มาทำตลาดในประเทศไทย หลังจากเปิดให้บริการแก่ภาคธุรกิจอื่นมาตั้งแต่ปี 2548 โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SME จำนวน 858,291 รายคิดเป็น 85% ของตัวเลขธุรกิจทั้งหมดในประเทศไทย และพบว่าในปี 2551 SME ประมาณ 100,000 รายมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

นอก จากนี้ยังพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนมีนาคม 2552 ประมาณ 13.4 ล้านราย คิดเป็น 20.5% ของจำนวนประชากรในประเทศ ซึ่งมีอัตราเติบโตจากปีที่แล้ว 18% มีผู้ใช้บรอดแบนด์จำนวน 913,000 ทั้งยังพบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมค้นหาข้อมูลประเภทต่างๆบนเว็บไซต์ 31.4 % อีเมล 23% อ่านข่าวออนไลน์ 10.3 %

อย่างไรก็ดียังพบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ซื้อบริการและสินค้าออ นไลน์เพิ่มขึ้น 45.6% ในปี 2551 ซึ่งหนังสือเป็นสินค้าที่มีการสั่งซื้อมาเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 36.4% ตามด้วยบริการต่างๆ 30.7 % และภาพยนตร์ ดีวีดี 18.1% จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า Google AdWords สามารถเข้าไปช่วยสนับสนุนธุรกิจของผู้ประกอบการ SME ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการโฆษณาผ่านออนไลน์ มีต้นทุนต่ำมากโดยจะเห็นได้จากสถิติงบประมาณที่ใช่จ่ายไปกับสื่อออนไลน์คิด เป็น 1% หรือประมาณ 900 ล้านบาท จากเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมดที่ 90,000 ล้านบาท และเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักทุกปี

นอกจากนี้ประเทศไทยถือเป็นอันดับ1ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มียอดผู้โฆษณาผ่านทางกูเกิลด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 98.75% โดยที่ผ่านมากูเกิลได้จัดทำโปรแกรมการบริหารจัดการแคมเปญที่เรียกว่า โปรแกรมโฆษณา Google AdWords เพื่อขายโฆษณาผ่านเว็บไซต์กูเกิล ตั้งแต่ปี 2548 โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตรร่วมเครือข่ายในการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ Tarad.com weloveshopping และNetdesign โดยลูกค้าที่ใช้งานส่วนใหญ่ยอมรับว่าสามารถช่วยเพิ่มยอดขาย และโฆษณาเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ตรงเป้าหมาย

ทั้ง นี้การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ในปัจจุบันถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เหมาะสมกับ ผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอี เนื่องจากอัตราการโฆษณาดังกล่าวมีต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก เพราะสามารถโฆษณาในอัตราที่เท่าไหร่ก็ได้ อีกทั้งยังเหมาะกับสภาวะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และมีความสะดวกสบาย

โดยที่ผ่านมาโปรแกรม Google AdWords นี้ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้รองรับกับการใช้งานที่เป็นภาษาไทยตั้งแต่ ช่วงปี 2548 ซึ่งมีจำนวนผู้เข้ามาใช้โฆษณาที่ค่อนข้างเยอะกว่า 1,000 รายและมีการเติบโตแต่ละปีที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้ในปี 2550 กูเกิลได้ตั้งออฟฟิศในประเทศสิงคโปร์ เพื่อที่จะดูแลลูกค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤษภาคม 2552 12:37 น.
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000056296

e-Marketing



--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
e-Marketing is a generic term utilized for a wide range of activities – advertising, customer communications, branding, fidelity programs etc. – using the internet. More than the simple development of a website, the e-Marketing focuses on online communications, direct dialog with consumers who thus participate to the creation of new products, finding efficient methods to win customer's fidelity and ease their business-making process. e-Marketing is the sum of activities a company makes with the purpose of finding, attracting, winning and retaining customers.

Specialists of CISCO company
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


หากใครที่เคยได้เรียนรู้หลักการ Marketing ในโลกออฟไลน์มาแล้ว การเรียนรู้เรื่ื่อง e-Marketing ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเพียงแค่ เติม e- เข้าไป เพื่อให้เป็นการตลาดที่เหมาะสำหรับโลกยุคไซเบอร์ นักการตลาดที่ดีจะต้องทำให้การตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ประสบความสำเร็จ

จุดประสงค์หลัก ของการทำ e-Marketing โดยความสำคัญที่มาเป็นอันดับแรกเลย คือ
การสร้างให้เกิดการขาย (Create Sale) เพราะโดยหลักการทำการตลาดในโลกออฟไลน์ ก็ยึดวัตถุประสงค์นี้เป็นสำคัญอยู่แล้ว

อันดับต่อมา เราำทำการตลาดเพื่อ
สร้างการรับรู้ด้านแบรนด์ (Brand Awareness) บางธุรกิจอาจจะไม่หวังผลด้านยอดขายมากนัก แต่ใช้การตลาดเพื่อการสร้างการรับรู้ การจดจำ เพื่อให้คนติดตา ตรึงใจ รับรู้ตราสินค้า ที่อาจจะทำให้เกิดผลระยะยาว เกิดเป็นการจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Royalty)

จุดประสงค์สุดท้าย คือ
การสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค (Brand Engagement) จะเห็นได้ว่า ในยุคนี้การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์นั้น ไม่ง่ายอีกแล้ว เพราะผู้บริโภคมีการรับรู้และเลือกชมสื่อที่หลากหลายมากขึ้น และกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายของสินค้า อาจจะมีพฤติกรรมในการเลือกรับสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป

นักการตลาดจะต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในเชิงลึก ศึกษาพฤติกรรมการรับสื่อ เพื่อใช้ในการวางแผนการสื่อสารการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากพฤติกรรมการรับสื่อแล้ว สินค้าบางประเภทที่นำมาทำการตลาดนั้น อาจจะมีคู่แข่งเยอะหรือมีสินค้าที่เป็นเจ้าตลาดที่อยู่ในใจผู้บริโภคอยู่แล้ว ทำให้ยากที่จะเข้าไปอยู่ในการรับรู้และจดจำ นักการตลาดจะต้องหาวิธีการในการสร้างความประทับใจ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคให้มากขึ้น จึงเกิดเ็ป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค (Brand Engagement) ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่เห็นได้ชัด คือ ร้านกาแฟ Starbucks ที่ได้สร้างประสบการณ์
"การเป็นร้านกาแฟ ที่ไม่ใช่แค่ร้านขายกาแฟ"

ดังนั้น การสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค (Brand Engagement) จึงเป็นสิ่งที่นักการตลาดพยายามที่จะสร้างให้เกิดขึ้นมา หากนักการตลาดคนใด สามารถทำให้เกิด Brand Engagement ได้แล้ว จะไม่ยากเลยที่จะสร้างให้เกิดการขายตามมา และจะเป็นการสร้างให้เกิดการขายแบบยั่งยืน (
Sustainable Sale) อีกด้วย